อาการ
โคที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%
การรักษา
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ป้ายแผล เช่น เพนนิซิลิน หรือฟิวราโซลิโดน สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)
การควบคุมและป้องกัน
ฉีดวัคซีนโรคเอฟทั้ง 3 ไทป์ โดยฉีดครั้งแรกเมื่อโคอายุ 6 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆ 6 เดือน วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค-กระบือ เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำ (Aqueous vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเตรียมจากเซลล์เพาะเลี้ยง
ทำให้เข้มข้นบริสุทธิ์และทำให้หมดฤทธิ์ด้วยสาร Binary Ethylene Imine (BEI)
การใช้
ใช้ฉีดป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ
วิธีการใช้
1ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 เดือนถึง 6 เดือน
2ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3 - 4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
3ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว
4ก่อนใช้ต้องเขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีทุกครั้ง
ขนาดฉีด
ตัวละ 2 มล.เข้าใต้ผิวหนัง
ความคุ้มโรค
สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3 - 4 สัปดาห์ และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นาน 6 เดือน